แผ่นสัมผัสหยาบและเรียบ 

Touch_Boards

อุปกรณ์

  • แผ่นสัมผัสกระดานที่ 1      แผ่นไม้ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งเป็นสองส่วนเท่าๆกัน ส่วนที่หนึ่งเป็น พื้นผิวเรียบ อีกส่วนหนึ่งปิดทับไว้ด้วยกระดาษทราย
  • แผ่นสัมผัสกระดานที่ 2      แผ่นไม้ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งแบ่งออกเป็น ช่องต่างๆ 5 คู่ เพื่อเปรียบเทียบความหยาบและเรียบ
  • แผ่นสัมผัสกระดานที่ 3      แผ่นไม้ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่แบ่งออกเป็น5 ช่องแต่ละช่องปิดทับด้วยกระดาษทรายที่มีความหยาบแตกต่างกัน 5 เบอร์

วัตถุประสงค์      

  • เพื่อกระตุ้นความสนใจเกี่ยวกับผิวสัมผัสต่างๆรอบตัวเด็ก โดยให้เด็กได้ฝึกการใช้  ประสาทสัมผัส
  • เพื่อพัฒนาคำศัพท์ให้แก่เด็ก
  • เพื่อเตรียมเด็กสู่การเรียนรู้ตัวอักษรกระดาษทราย

กลไกควบคุมความผิดพลาด       

              สำหรับกิจกรรมแผ่นสัมผัสนี้เด็กจะต้องปิดตาแล้วใช้ประสาทรับรู้ในการสัมผัสเป็นกลไกควบคุมการผิดพลาดเท่านั้น

คำศัพท์ที่ได้   

  • กระดาน 1 และ 2 – เรียบ หยาบ
  • กระดาน 3 – หยาบ หยาบกว่า หยาบที่สุด

ระดับอายุ      

              2 ½ - 3 ขวบ

ข้อเสนอแนะ    

              กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมเดี่ยวซึ่งควรทำบนโต๊ะ ทั้งครูและเด็กควรล้างมือและเช็ดมือให้แห้งก่อนการเล่นทุกครั้ง

กระดานที่ 1

               ให้ครูแนะนำแผ่นสัมผัสกระดานที่ 1 โดยใช้ ”บทเรียนสามขั้นตอน”  เพื่อเรียนรู้ความหยาบ และความเรียบ ครูสาธิตให้เด็กดูวิธีการสัมผัสแผ่นเบาๆด้วยปลายนิ้วโดยลูบจากบนลงล่างด้วยการเปิดตาก่อน จากนั้นทำเช่นเดียวกันอีกครั้งแต่ให้หลับตาหรือใช้ผ้าปิดตาด้วย  เด็กก็จะได้เรียนรู้คำว่าหยาบ และเรียบไป พร้อมๆกับการรับรู้ความหมายของทั้งสองคำจากผิวสัมผัส

กระดานที่ 2      

               ครูแนะนำแผ่นสัมผัสกระดานที่ 2 ให้เด็กรู้จักและสาธิตวิธีการสัมผัสแถบกระดาษทรายแต่ละแถบโดยการลูบปลายนิ้วไปตามความยาวของแถบกระดาษทราย เพื่อเป็นการช่วยเด็กในการทำงานประสานสัมพันธ์การเคลื่อนไหวของนิ้วมือ

กระดานที่ 3

              หลังจากนั้นครูอาจสาธิตวิธีการสัมผัสกระดานแผ่นที่สาม เพื่อสอนเกี่ยวกับความแตกต่างของความหยาบในระดับต่างๆ

แบบฝึกหัด   

              ใช้กระดานสัมผัสเพื่อให้เด็กสัมผัสความหยาบ และความเรียบ